การทำงานในพื้นที่อับอากาศ เช่น บ่อ ถัง ท่อ หรืออุโมงค์ จำเป็นต้องมีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการระบายอากาศจำกัด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายสูง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิด การฝึกอบรม “ที่อับอากาศ 4 ผู้” จึงถูกออกแบบมา เพื่อตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัย ของพนักงาน
อบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ ตามกฎหมาย
ฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัยการทำงาน
ในพื้นที่อับอากาศ

เหมาะสำหรับ : พนักงานทุกระดับ ทั้งผู้บริหาร หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่ต้องเข้าไปทำงานในพื้นที่อับอากาศ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ
หลักสูตรอบรม อับอากาศ 4 ผู้
เน้นการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์เสมือนจริง เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และเพิ่มทักษะในการทำงาน ในพื้นที่อับอากาศอย่างปลอดภัย ด้วยประสบการณ์จริงและการใช้อุปกรณ์มาตรฐานในทุกขั้นตอน
- พร้อมจัดอบรม In house
- มอบวุฒิบัตร หลังอบรม
- เดินทาง 77 จังหวัดทั่วประเทศ
เลือกอบรมการทำงานที่อับอากาศ ที่คุณสนใจ

In house
ที่อับอากาศ 4 ผู้
เรียนรู้หน้าที่ของ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน ในที่อับอากาศ
ทฤษฎี 15 ชม. ปฏิบัติ 9 ชม.
>> Course Outline <<

In house
ผู้อนุญาต
เรียนรู้หน้าที่และขอบเขตในการรับผิดชอบของ ผู้อนุญาต ในการทำงาน ที่อับอากาศ
ทฤษฎี 5 ชม. ปฏิบัติ 2 ชม.
>> Course Outline <<

In house
ผู้ควบคุมงาน
เรียนรู้หน้าที่และขอบเขตในการรับผิดชอบของ ผู้ควบคุมงาน ทำงานที่อับอากาศ
ทฤษฎี 15 ชม. ปฏิบัติ 9 ชม.
>> Course Outline <<

In house
ผู้ช่วยเหลือ
เรียนรู้หน้าที่และขอบเขตในการรับผิดชอบของ ผู้ช่วยเหลือ ในการทำงาน ที่อับอากาศ
ทฤษฎี 12 ชม. ปฏิบัติ 6 ชม.
>> Course Outline <<

In house
ผู้ปฏิบัติงาน
เรียนรู้หน้าที่และขอบเขตในการรับผิดชอบของ ผู้ปฏิบัติงาน ในการทำงาน ที่อับอากาศ
ทฤษฎี 9 ชม. ปฏิบัติ 3 ชม.
>> Course Outline <<

In house
ทบทวนที่อับอากาศ
หลังจากการอบรมทุก 5 ปี ต้องมีการจัดอบรมทบทวนความรู้ การทำงานที่อับอากาศ
ทฤษฎี 3 ชม.
>> Course Outline <<
คุณสมบัติของผู้อบรม
- ผู้เข้าอบรมต้องผ่านการอบรมดับเพลิงขั้นต้น
- อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
- มีใบรับรองแพทย์ ตรวจสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือที่แพทย์เห็นว่าไม่เหมาะกับการทำงานในที่อับอากาศ
สิ่งที่จะได้รับจากการอบรม
- วุฒิบัตร ผ่านการอบรม
- คู่มือเรียน
เรียนรู้การทำงานในที่อับอากาศ อย่างปลอดภัย
จากวิทยากรมืออาชีพ
ฝึกใช้เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ
ให้ผู้ใช้งานเข้าใจการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (Gas Detector) ตั้งแต่การเริ่มต้นเตรียมอุปกรณ์ การตรวจสอบความพร้อม ไปจนถึงวิธีการอ่านค่า และการตีความผล
- ตรวจปริมาณออกซิเจน
- ตรวจวัดสารไวไฟ (LEL-UEL)
- ตรวจวัดแก๊สพิษ (Toxic gas)
- ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
ฝึกปฏิบัติกับอุปกรณ์จริง
ผู้เข้าร่วมได้ทดลองใช้งานอุปกรณ์จริง เช่น เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ อุปกรณ์ช่วยหายใจ และอุปกรณ์กู้ภัยต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงานในพื้นที่อับอากาศ
- ติดตั้งไตรพอด (Tripod)
- วิธีใช้ SCBA
- เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- การวางแผนปฏิบัติงาน
ฝึกช่วยเหลือและกู้ภัย
เรียนรู้ ในกรณีที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ติดอยุ่ในที่อับอากาศ ควรต้องปฏิบัติอย่างไร และมีการปฐมพยาบาลอย่างไรให้ถูกต้อง
- ฝึกปฐมพยาบาล
- ฝึกการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในที่อับอากาศ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศ
- กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ (15 กุมภาพันธ์ 2562)
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ
(11 มีนาคม 2564) - ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือ และ ช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ (21 ตุลาคม 2548)
- ประกาศกรมสวัสดิการ และ คุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (27 กันยายน 2554)
4 ผู้ที่อับอากาศ มีอะไรบ้าง
ผู้อนุญาต (Authorized Entrant) – การอบรมเพื่อให้ผู้อนุญาตสามารถตรวจสอบและอนุญาตให้เข้าพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง โดยเน้นความเข้าใจในการประเมินความเสี่ยงและการป้องกันอันตรายเบื้องต้น
ผู้ควบคุม (Supervisor) – อบรมผู้ควบคุมให้มีทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ ตรวจเช็คสภาพแวดล้อมและการใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามมาตรการความปลอดภัย
ผู้ช่วยเหลือ (Rescuer) – ผู้ช่วยเหลือจะได้รับการฝึกให้สามารถช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตและการตอบสนองในสถานการณ์วิกฤต
ผู้ปฏิบัติงาน (Worker) – การฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศเข้าใจถึงข้อกำหนดในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) การประเมินความเสี่ยง และขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย
ทำไมต้องเลือกอบรมกับเรา
ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 2000 องค์กร
วิทยากรมืออาชีพที่มีประสบการณ์ตรง
เรามีทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านการรับรองและมีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่อับอากาศโดยตรง พร้อมถ่ายทอดความรู้และทักษะที่จำเป็น ในสถานการณ์ต่างๆ
ราคาเป็นกันเอง พร้อมคุณภาพครบถ้วน
มอบบริการที่มีมาตรฐานสูงในราคาที่เข้าถึงได้ ช่วยให้คุณสามารถจัดการฝึกอบรมให้กับพนักงานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมากเกินจำเป็น
หลักสูตรคุณภาพ เน้นความปลอดภัย
เน้นการปฏิบัติจริงในพื้นที่อับอากาศ ผสมกับความรู้ที่ทันสมัย และแนวปฏิบัติตามหลักสากล ช่วยให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและ ใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัย
ได้รับการรับรอง มาตรฐานสากล
บริษัทของเรามีมาตรฐานการจัดการคุณภาพ ISO 9001:2015 การันตีการฝึกอบรมที่มีคุณภาพแ ละบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล
ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัย ที่ได้รับอนุญาต
ผู้ให้บริการอบรมด้านความปลอดภัยครบวงจร ที่มุ่งมั่นส่งเสริมการทำงานอย่างปลอดภัยและสร้างมาตรฐานที่ดีที่สุดให้กับองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะในงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พื้นที่อับอากาศ งานก่อสร้าง และงานอุตสาหกรรม ด้วยประสบการณ์ยาวนานในวงการ
คำถามที่พบบ่อย
ที่อับอากาศ คือ พื้นที่ที่มีการระบายอากาศจำกัด ซึ่งส่งผลให้ออกซิเจนภายในพื้นที่อาจไม่เพียงพอ หรืออาจมีการสะสมของก๊าซที่เป็นอันตราย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ พื้นที่เหล่านี้สามารถสร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปทำงานภายในได้ โดยเฉพาะหากไม่มีการระบายอากาศที่เหมาะสมหรือมีสารเคมีที่เป็นอันตรายสะสมอยู่
ตัวอย่างของพื้นที่อับอากาศ ได้แก่:
– ถังเก็บน้ำมันหรือสารเคมี
– บ่อเก็บน้ำ บ่อน้ำเสีย
– อุโมงค์ ท่อระบายน้ำ หรือทางใต้ดิน
– ห้องใต้ดินหรือพื้นที่ที่ปิดล้อม
เนื่องจากอันตรายเหล่านี้ การทำงานในที่อับอากาศจึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมและใช้อุปกรณ์ป้องกันเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่กฎหมายกำหนด
ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน เนื้อหาการอบรมออกแบบให้เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานในที่อับอากาศและผู้ที่มีประสบการณ์แล้ว โดยครอบคลุมทั้งความรู้พื้นฐาน และการฝึกปฏิบัติเพิ่มเติม
หลังผู้เข้าบอรมผ่านการอบรมจะได้รับใบเซอร์ สำหรับยืนยันผ่านการอบรมซึ่ง ” ไม่มีวันหมดอายุ ”
แต่ต้องมีการเข้าอบรมทบทวนที่อับอากาศ ทุกๆ 5 ปี เพื่อทบทวนความรู้ในการทำงาน
ติดต่อสอบถามหลักสูตร / บริการ
- โทร : (064) 958 7451 คุณ แนน
- อีเมล : [email protected]